

ทฤษฎีพหุปัญญา (Multiple Intelligences)
ของดร. โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์
หนึ่งในทฤษฎีที่นำมาอ้างอิงในการค้นหาศักยภาพบุคคลผ่านโปรแกรมการสแกนนิ้ว คือทฤษฎีพหุปัญญา โดยในปี1983 Dr. Howard Gradner นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เขียนหนังสือเรื่อง Frames of Mind :The Theory of Multiple Intelligences หนังสือเล่มนี้ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางทั่วโลก โดยทฤษฎีนี้มีความเชื่อพื้นฐานที่เกี่ยวกับสติปัญญาว่าเชาว์ปัญญาของบุคคลมิได้มีเพียงความสามารถทางภาษาและคณิตศาสตร์เท่านั้น แต่มีอยู่หลากหลายถึง9ด้านซึ่งทำให้บุคคลมีความแตกต่างกันซึ่งเมื่อผสมผสานความสามารถเฉพาะด้านเหล่านั้นจะก่อให้เกิดเอกลักษณ์เฉพาะตัวบุลคลและเชาว์ปัญญาไม่ใช่สิ่งที่มั่นคงถาวรตั้งแต่เกิดจนตาย แต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาพแวดล้อมและการส่งเสริมที่เหมาะสม
เชาว์ปัญญาหรืออัจฉริยะหรือความฉลาดทั้ง 9 ด้าน มีดังต่อไปนี้
1. Intra-personal Intelligence
คือความสามารถในการเข้าใจตนเอง เข้าใจความคิดและความรู้สึกและการตระหนักถึงความรู้สึกและมีแรงจูงใจในตนเองและใช้ความรู้ดังกล่าวในการวางแผนและกำหนดทิศทางชีวิต
2. Interpersonal Intelligence
คือ ความสามารถในการเข้าใจและมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการสื่อสารด้วยภาษาและอวัจนภาษา ความสามารถในการสังเกตความแตกต่างของผู้อื่น ความเข้าใจอารมณ์ ความรู้สึกและแรงจูงใจของผู้อื่น
3. Logical-Mathematical Intelligence
คือ ความสามารถในการคำนวณ การรับรู้ความสัมพันธ์และความคิดเชิงสัญลักษณ์ เชิงนามธรรม ทักษะการให้เหตุผลตามลำดับ และรูปแบบการคิดแบบอุปนัยและนิรนัย
4. Spatial Intelligence
คือความสามารถในการคิดแบบสามมิติ การจินตนาการภาพ การใช้เหตุผลเชิงพื้นที่ การปรับแต่งภาพ ทักษะกราฟิกและศิลปะ
5. Bodily-Kinesthetic Intelligence
คือความสามารถในการจัดการกับการเคลื่อนไหวของร่างกายและใช้ทักษะทางกายที่หลากหลาย รวมถึงความรู้สึกของจังหวะเวลาและความสมบูรณ์แบบของทักษะที่รวมกายและใจเป็นหนึ่งเดียว
6. Linguistic Intelligence
คือความสามารถในการคิดเป็นคำพูดและใช้ภาษาเพื่อแสดงออกและชื่นชมความหมายที่ซับซ้อน ความเข้าใจลำดับและความหมายของคำศัพท์
7. Musical Intelligence
คือ ความสามารถในการแยกแยะระดับเสียง จังหวะเสียงและน้ำเสียง สามารถจดจำ ทำซ้ำทันทีที่ได้ยิน มักจะมีความเชื่อมโยงระหว่างดนตรีกับอารมณ์
8. Naturalist Intelligence
คือ ความสามารถในการสังเกต หรือพินิจพิเคราะห์หรือแยกแยะสิ่งแวดล้อมรอบตัว ทั้งสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต ตลอดจนความไวต่อคุณสมบัติต่างๆในธรรมชาติ
9. Existential Intelligence
คือ ความสามารถในการคิดอย่างเฉียบไวและไตร่ตรองต่อคำถามที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับการดำรงอยู่ของมนุษย์ เช่นความหมายของชีวิต เราเกิดมาทำไม ความตายคืออะไร