รศ.ดร.นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยา ศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์
สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล และนักวิชาการหลายสาขาร่วมกับสถาบัน RLG ได้จัดการความรู้และแยกแยะ EF ออกเป็น 9 ด้านจัดเป็น 3 กลุ่มทักษะ ได้แก่ กลุ่มทักษะพื้นฐาน กลุ่มทักษะกำกับตนเอง และกลุ่มทักษะปฏิบัติ (ตามภาพ)

Executive Function 9 ด้าน
กลุ่มที่1 กลุ่มทักษะพื้นฐาน
1. Working Memory
ความจำที่นำมาใช้งาน คือ ความสามารถในการบันทึก เก็บประมวล และเก็บเกี่ยวไว้ในคลังสมอง เมื่อถึงสถานการณ์จำเป็นสมองจะทำการประมวลผล ดึงข้อมูลที่ได้มาจากประสบการณ์เดิมในชีวิตมาใช้งานได้อย่างรวดเร็ว ความจำที่นำมาใช้ ไม่ใช่ความจำจากท่องจำ แต่เป็นความจำผ่านประสบการณ์
2. Inhibitory Control หรือ Self-Control
การยับยั้งชั่งใจ คิดไตร่ตรอง ควบคุมตัวเองได้ คือความสามารถในการควบคุมแรงปรารถนาของคนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม จนหยุดยั้งพฤติกรรมได้ในเวลาที่เหมาะสม ความสามารถที่จะไม่วอกแวกเพื่อไปสู่เป้าหมาย แม้จะไม่สนุก รวมทั้งความสามารถในการถอนตัวจากความสุข หรือประวิงเวลาจะที่มีความสุขได้
3. Shifting หรือ Cognitive Flexibility
การยืดหยุ่นความคิด คือความสามารถในการเปลี่ยนจุดสนใจ เปลี่ยนโฟกัส หรือทิศทางให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น สามารถพลิกแพลง ปรับเป้าหมาย แผนการ วิธีการ และกระบวนการ เด็กที่ขาดทักษะนี้จะมีปัญหาในเรื่องการปรับตัว มักจะติดอยู่กับสิ่งเดิมๆ ไม่สามารถยืดหยุ่นพลิกแพลงได้ มองไม่เห็นทางออกใหม่ๆ ไม่ สามารถคิดสิ่งใหม่ๆ นอกกรอบได้ แต่เด็กที่มีทักษะนี้จะสามารถมองเห็นทางเลือกหรือทางออกอื่นๆ เมื่อเจอปัญหาหรืออุปสรรคที่หาทางออกไม่ได้
กลุ่มที่ 2 กลุ่มทักษะการควบคุมตัวเอง
4. Focus ,Attention
การจดจ่อใส่ใจ คือ ความสามารถในการมุ่งความสนใจอยู่กับสิ่งที่ทำอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาหนึ่งๆ โดยไม่วอกแวกไปตามปัจจัยภายนอกหรือภายในที่เข้ามารบกวน
5. Emotional Control
การควบคุมอารมณ์ คือความสามารถในการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม จัดการความเครียด หงุดหงิด และแสดงออกแบบไม่รบกวนผู้อื,น คนที่ควบคุมอารมณ์ได้ไม่มักโกรธฉุนเฉียว ขีQหงุดหงิดเกินเหตุ หรือขี้กังวล อารมณ์แปรปรวน และอาจซึมเศร้าได้
6. Self-Monitoring
การตรวจสอบตนเอง รู้จักจุดแข็งจุดอ่อนของตนเอง รวมถึงการตรวจสอบการงานเพื่อหาจุดดีจุดบกพร่อง ประเมินการบรรลุเป้าหมาย ติดตามปฏิกิริยาของตนเอง และดูผลจากพฤติกรรมของตนเองที่ไปกระทบผู้อื่น
กลุ่มที่ 3 กลุ่มทักษะการควบคุมตัวเอง
7. Initiating การริเริ่มลงมือทำ คือความสามารถในการริเริ่ม สร้างสรรค์สิ่งต่างๆ เมื่อคิดแล้วก็ลงมือทำให้ความคิดของตนปรากฏขึ้นจริง ไม่ผัดวันประกันพรุ่
8. Planning and Organising
การวางแผนและการจัดระบบดำเนินการ เริ่มตั้งแต่การ
ตั้งเป้าหมาย การเห็นภาพรวม จัดลำดับความสำคัญ จัดระบบโครงสร้าง จนถึงการดำเนินการ และมีการประเมินผลตนเองได้
9. Goal-Directed Persistence
ความพากเพียรมุ่งสู่เป้าหมาย คือเมื่อตั้งใจและลงมือทำสิ่งใดแล้ว ก็มุ่งมั่นอุตสาหะ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ไม่ว่าจะมีอุปสรรคใดๆ ก็พร้อมฝ่าฟันจนสำเร็จ
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆมีประโยชน์จาก รศ.ดร.นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยา ศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล และสถาบัน RLG